ในปี ค.ศ. 1889 ขบวนการแรงงานสากลที่ 2 (Second International, Socialist International)
ได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น "วันแรงงาน" (Labor) Day บ้างก็เรียกว่า "วันแรงงานสากล"
(International Worker's Day) หรือ "เมย์เดย์" (May Day) เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์การต่อสู้เพื่อสิทธิ
แรงงานในเหตุการณ์จลาจลเฮย์มาร์เก็ต (Haymarket Riot) ในชิคาโก สหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1886
ซึ่งในสมัยนั้นพลเมืองวัยทำงานในสหรัฐต้องทำงานโดยเฉลี่ยถึงวันละ 12 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 6 วัน กว่าที่สภา
จะมีมติผ่านร่างกฎหมายที่กำหนดให้พลเมืองสหรัฐทำงานวันละ 8 ชั่วโมงนั้นเวลาก็ล่วงเลยมาจนถึง
วันที่ 3 กันยายน ค.ศ. 1916 หรือกว่า 34 ปีให้หลัง.
สำหรับวันแรงงานไทยนั้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการจัดงานที่ระลึกแรงงานไทย
มีความเห็นตรงกันว่าควรกำหนดวันที่ 1 พฤษภาคม ให้เป็นวันที่ระลึกถึงแรงงานไทย ภายหลังผ่าน
ความเห็นชอบและรับรองจากนายกฯในสมัยนั้นแล้ว วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีจึงถูกกำหนดให้เป็น
วันกรรมกรแห่งชาติ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนการเรียกเป็นวันแรงงานแห่งชาติจวบจนถึงปัจจุบัน.